วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555

การเล่น


   คือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด  เด็กเรียนรู้จากธรรมชาติแห่งการดำรงชีวิต ไม่จำ เป็นต้องนั่งเขียน เรียน อ่าน คนเกิดมาพร้อมกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส สิ่งแวดล้อมรอบตัวตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตามธรรมชาติ และการกระตุ้น เช่น การเล่นโดยใช้ปากและสายตา เมื่อคุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยขณะให้นมลูก ลูกส่งเสียง อืออา....อืออา....ตอบรับ การเล่นด้วยสายตากับของเล่นที่มีสีสันที่คุณพ่อคุณแม่แขวนให้ ลูกกลอกตาดูการแกว่งไกว เคลื่อนไหว

สิ่งได้จากการเล่น
1. การพัฒนากล้ามเนื้อของร่างกาย (Muscle Development) กล้ามเนื้อได้ออกแรง แข็งแกร่ง ฉับไวและใช้งานได้แม่นยำ เช่น กล้ามเนื้อมือ ใช้หยิบจับสิ่งของ นอกจากนี้ขณะเล่นและนอนหลับ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและส่วนสูง (growth hormone) ทำให้เจริญเติบโตเร็ว
2. อารมณ์ดี (EQ) สดชื่น เบิกบานแจ่มใส ไม่หงุดหงิด เป็นช่องทางระบายความโกรธ ความก้าวร้าว เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ และผู้ใหญ่มากขึ้น
3. เสริมสติปัญญา (IQ) ขณะเล่นลูกใช้สมองและจินตนาการ กระตุ้นให้ลูกคิดเป็น ทำเป็น พัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้มาก
4. มีพัฒนาการทางสังคม (SQ) รู้จักระงับความต้องการของตนเอง เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น มีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
5. เกิดความรักความผูกพัน เมื่อลูกเล่นกับเพื่อนจนสนิทสนม คุณพ่อคุณแม่ที่เล่นกับลูกมากๆ เล่นอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดความผูกพันที่แนบแน่น เกิดความรักอยากเป็นคนดี เชื่อฟังพ่อแม่เสมอและสร้างบรรยากาศสุขสดชื่นในครอบครัว
6. ถ่ายทอดความรัก (MQ) คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เล่นกับลูก ลูกจะได้รับความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย และความมั่นใจ เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ลูกจะรักคนอื่น รักเพื่อมนุษย์ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อมและรักวัฒนธรรม
7. การเรียน (AQ) ทั้งการเรียนรู้โดยตรง การลองผิดลองถูก และการนำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ผสม ผสานกับความรู้เก่า ถ้ามีผู้ใหญ่เล่นด้วย ชี้แนะ กระตุ้นให้ลูกคิด ชื่นชม ให้กำลังใจ ปลอบโยน เมื่อผิดพลาดล้มเหลว ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเรียน อยากทำมากขึ้น
8. การฝึกสมาธิ (Spiritual Intelligence) และฝึกวินัย ขณะที่ลูกจดจ่อกับการเล่นที่สร้างสรรค์ จะเป็นช่วงที่ลูกมีจิตที่นิ่ง เป็นพื้นฐานของการฝึกฐานสติ และเมื่อเล่นเสร็จควรฝึกให้ลูกเก็บให้เข้าที่ เพื่อเป็นการฝึกวินัยการเล่นให้ลูกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น