วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555 
- อ.สรุป การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สนทนากันเรื่อง แท็บเล็ต ของเด็กป.1 และเด็กอนุบาล
- พูดคุยเรื่องบล็อกว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง


สนใจดู tablet เพิ่มเติม

------>>>> คลิกที่นี่ <<<<------

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 18 กันยายน 2555
จัดกิจกรรมให้เด็กอนุบาล โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
มีด้วยกันทั้งหมด 9 ฐานดังนี้     
     1.ฐานขนมปังปิ่ง
     2.ฐานขนมต้ม
     3.ฐานเกี๊ยวทอด
     4.ฐานลูกโป่ง
     5.ฐานการเดินทางของเสียง
     6.ฐานระดับน้ำมีผลต่อระดับเสียง
     7.ฐานแม่เหล็กมหาสนุก
     8.ฐานลูกข่างเปลี่ยนสี
     9.ฐานแม่เหล็กมหัจรรย์
ฐานของกลุ่มดิฉันคือ ฐานลูกข่างเปลี่ยนสี


วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 11 กันยายน 2555
- สนทนากันเรื่องจะไปจัดประสบการณ์ ให้น้องที่โรงเรียนสาธิต
แนวคิด
     เสียง เกิดจากการสั่นของวัตถุ
     แม่เหล็ก เป็นของแข็งที่สามารถดูดโลหะได้ มีขั่วต่างกัน จากแนวคิดนี้จะนำไปประดิษฐ์ไดนาโม ไฟฟ้า
     ขนมต้ม แป้งขนมต้มดิบ เมื่อใส่ลงในน้ำเดือด แป้งจะขยายตัว เพราะมีอากาศเอาไปแทนที่ แนวคิดนี้นำไปประดิษฐ์ห่วงยาง ประกอบอาหาร ล้อรถ
- การจัดประสบการณ์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาตร์
     กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็กมีประสบการณ์ในเนื้อหาสาระนั้นๆ(ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
     กิจกรรมกลางแจ้ง ใช้พลังงาน ทำให้เหนื่อยและหิวน้ำ(วิทย์เรื่องพลังงาน)
     เกมการศึกษา ได้สาระทางวิทยาศาตร์ ซึ่งจะใส่ไปในตัวเกม
- อ.ชี้แจงว่าในวันจัดกิจกรรมต้องเอาอะไรไปบ้าง แล้วต้องทำอะไร
     การจัดสถานที่
     การเตรียมอุปกรณ์
     การทำป้ายชื่อฐาน ป้ายชื่อน้อง
- พูดคุยเรื่องบล็อก

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 4 กันยายน 2555
- อ.วิพากษ์วิจารณ์เรื่องบอร์ด การทดลองวิทยาศาตร์


- ส่งสมุดเล่มเล็ก(ขั้นตอนการทำดอกไม้)
- สื่อ
      3 มิติ คือ สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก  ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ เช่น หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น
      2 มิติ คือ สื่อที่มีเเต่ด้านกว้างกับยาว เเต่ไม่มีความหนาหรือความลึก เช่น ภาพนูน เกมการศึกษา เป็นต้น
แบ่งหัวข้อเพื่อไปจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ให้น้องที่สาธิต

   

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการอบรมการสร้างสื่อประยุกต์

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 และ วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555




ผลงานที่ได้เข้าอบรม


วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2555

-อาจารย์แจกหนังสือเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยจัดเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม
-ให้เลือกการทดลองมา 1 การทดลองและบอกแนวคิด ขั้นตอน และสรุป ของการทดลองนั้น

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2555


ไม่มีการเรียนการสอน

** สอนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555**

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555


ไม่มีการเรียนการสอน
** สอนชดเชยในวันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555**

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555

- คุยเรื่องสัปดาห์วิทยาศาตร์
- อาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ของเด็กปฐมวัย

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2555

การเล่น


   คือ การเรียนรู้ที่ดีที่สุด  เด็กเรียนรู้จากธรรมชาติแห่งการดำรงชีวิต ไม่จำ เป็นต้องนั่งเขียน เรียน อ่าน คนเกิดมาพร้อมกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส สิ่งแวดล้อมรอบตัวตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดา เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด ที่กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตามธรรมชาติ และการกระตุ้น เช่น การเล่นโดยใช้ปากและสายตา เมื่อคุณแม่พูดคุยกับลูกน้อยขณะให้นมลูก ลูกส่งเสียง อืออา....อืออา....ตอบรับ การเล่นด้วยสายตากับของเล่นที่มีสีสันที่คุณพ่อคุณแม่แขวนให้ ลูกกลอกตาดูการแกว่งไกว เคลื่อนไหว

สิ่งได้จากการเล่น
1. การพัฒนากล้ามเนื้อของร่างกาย (Muscle Development) กล้ามเนื้อได้ออกแรง แข็งแกร่ง ฉับไวและใช้งานได้แม่นยำ เช่น กล้ามเนื้อมือ ใช้หยิบจับสิ่งของ นอกจากนี้ขณะเล่นและนอนหลับ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตและส่วนสูง (growth hormone) ทำให้เจริญเติบโตเร็ว
2. อารมณ์ดี (EQ) สดชื่น เบิกบานแจ่มใส ไม่หงุดหงิด เป็นช่องทางระบายความโกรธ ความก้าวร้าว เป็นที่ยอมรับของเพื่อน ๆ และผู้ใหญ่มากขึ้น
3. เสริมสติปัญญา (IQ) ขณะเล่นลูกใช้สมองและจินตนาการ กระตุ้นให้ลูกคิดเป็น ทำเป็น พัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้มาก
4. มีพัฒนาการทางสังคม (SQ) รู้จักระงับความต้องการของตนเอง เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น มีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น
5. เกิดความรักความผูกพัน เมื่อลูกเล่นกับเพื่อนจนสนิทสนม คุณพ่อคุณแม่ที่เล่นกับลูกมากๆ เล่นอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดความผูกพันที่แนบแน่น เกิดความรักอยากเป็นคนดี เชื่อฟังพ่อแม่เสมอและสร้างบรรยากาศสุขสดชื่นในครอบครัว
6. ถ่ายทอดความรัก (MQ) คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เล่นกับลูก ลูกจะได้รับความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกปลอดภัย และความมั่นใจ เมื่อเติบใหญ่ขึ้น ลูกจะรักคนอื่น รักเพื่อมนุษย์ รักสังคม รักสิ่งแวดล้อมและรักวัฒนธรรม
7. การเรียน (AQ) ทั้งการเรียนรู้โดยตรง การลองผิดลองถูก และการนำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ผสม ผสานกับความรู้เก่า ถ้ามีผู้ใหญ่เล่นด้วย ชี้แนะ กระตุ้นให้ลูกคิด ชื่นชม ให้กำลังใจ ปลอบโยน เมื่อผิดพลาดล้มเหลว ทำให้เด็กอยากรู้ อยากเรียน อยากทำมากขึ้น
8. การฝึกสมาธิ (Spiritual Intelligence) และฝึกวินัย ขณะที่ลูกจดจ่อกับการเล่นที่สร้างสรรค์ จะเป็นช่วงที่ลูกมีจิตที่นิ่ง เป็นพื้นฐานของการฝึกฐานสติ และเมื่อเล่นเสร็จควรฝึกให้ลูกเก็บให้เข้าที่ เพื่อเป็นการฝึกวินัยการเล่นให้ลูกด้วย

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2555
- นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

กำลังนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์


ภาพสองหน้า

อุปกรณ์
- กระดาษ A4                       - กรรไกร
- สี                                          - ดินสอ
- ยางลบ                                 - เชือก
- ตุ๊ดตู่

วิธีทำ

1.วาดรูปวงกลมลงในกระดาษและตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมขนาดตามต้องการ



2.ใช้ตุ๊ดตู่เจาะกระดาษ ดังรูป



3.วาดรูปทั้งสองหน้ากระดาษให้สัมพันธ์กัน






4.ตัดเชือกยาว 10 นิ้ว จำนวน 2 เส้น




5.ผูกเชือกที่รูกระดาษทั้งสองข้าง ดังรูป



กรองน้ำ ทำได้เอง
อุปกรณ์
- ขวดพลาสติก                     - ทราย
- ถ่านทุบละเอียด                 - มีด
- กรรไกร                              - ผ้า
- กรวดจิ๋ว                              - สำลี

วิธีทำ

1.นำขวดพลาสติกมาตัดก้นออก


2.ใช้ผ้าหุ้มปลายขวด


3.นำผ้าหรือสำลี มาพับทบหลายๆชั้น เพื่อกรองเศษผงขั้นสุดท้าย

4.ใส่ถ่านทุบละเอียด กรองสารพิษ และแบคทีเรียอีโคไลน์ ,ทราย กรองสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก


5.ใส่กรวดจิ๋ว กรองสิ่งแปลกปลอมชิ้นใหญ่ ถ้าไม่มีใช้ทรายอย่างเดียวก็ได้

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555

- ดู VDO เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
- ร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับ VDO มหัศจรรย์ของน้ำ- ส่งงานมายแม็บตามหน่วยที่โรงเรียนสาธิต


งาน : - ให้ทำสื่อวิทยาศาตร์ทีเด็กเลนได้ในมุมวิทยาศาตร์
            - ของเล่นวิทยาศาตร์ที่เด็กสามารถทำได้

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2555
- อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งเมื่อคาบที่แล้ว


- เนื้อหาที่สอน
        - ทฤษฎีของเพียเจย์
         1.ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motor  Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี  พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่  เช่น  การไขว่คว้า  การเคลื่อนไหว  การมอง  การดู         

        2.ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational  Stage ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์  หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน  แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่  เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่  และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น        
        3.ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete  Operation  Stageขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี  พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้  เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล  รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ  ที่เป็นรูปธรรมได้  สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ  โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก  หรือปริมาตรเท่าเดิม       
     - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์          
1.ทักษะการกำหนดละควบคุมตัวแปร          
2.ทักษะการคำนวณ          
3.ทักษะการจัดและสื่อความหมายข้อมูล          
4.ทักษะการจำแนกประเภท          
5.ทักษะการตั้งสมมติฐาน
6.ทักษะการตีความหมายข้อมูล
7.ทักษะการทดลอง
8.ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ

9.ทักษะการพยากรณ์
10.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล          
11.ทักษะการวัด          
12.ทักษะการสังเกต          
13.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับมิติ และมิติกับเวล
งาน
         แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อที่จะจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาตร์ ให้น้องที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

งาน : พัฒนาการทางสติปัญญา

พัฒนาการของเด็กอายุ 5 ปี
พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
     การคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2555
- อาจารย์ให้เขียนสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้ในการเรียนวิชานี้
- พัฒนาการ คือ การเจริญเติมโตอย่างเป็นขั้นตอนและต่อเนื่อง
งาน
1.ดูพัฒนาการทางสติปัญญาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
2.งานกลุ่มใส่ A4

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2555
อาจารย์สั่งงานไว้ดังนี้
- ทำบล็อควิทยาศาสตร์
- ลิ้งค์มาตรฐานวิทยาศาสตร์ของ สสวท.
- ลิ้งค์รายชื่อเพื่อนในบล็อ
- ดูโทรทัศน์ครูเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์(เรื่องนึงซ้ำได้ไม่เกิน 3 คน)